วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อคิดก่อนตัดสินใจลาออกจากงานมาทำอาชีพเกษตร

ข้อคิดจากสวนวสา ในเว็บเกษตรพอเพียงดอทคอมครับ สำหรับท่านที่อยากออกจากงานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ลองอ่านให้ดีทั้งหมด ก็น่าจะช่วยป้องกันความเสียหายได้ครับ
ติดตามสอบถามสวนวสาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ แต่ต้องสมัครสมาชิกเว็บก่อน
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=5983.0
ที่ดิน
การจะเริ่มทำการเกษตรได้นั้น เราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้
1. ในที่ดินต้องมีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนในภายหลัง
2. ที่ดินควรใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อย ๆ โดยเฉพาะเกษตรกร part-time ที่ต้องทำงานในวันธรรมดาและไปทำสวนได้เฉพาะวันหยุด หากคุณต้องขับรถ 500 กม. เพื่อไปสวนในวันเสาร์ และขับกลับอีก 500 กม. ในวันอาทิตย์ คุณจะเหนื่อยและท้อไปในที่สุด ระยะทางที่เหมาะสมน่าจะไม่เกิน 200 กม. จากบ้านคุณ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่องระยะทางนี้ขึ้นกับทุนและความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วย คำนวณค่าน้ำมันคร่าว ๆ ว่าระยะทาง 200 กม. รถคุณกินน้ำมันเฉลี่ย 8 กิโลลิตร น้ำมันลิตรละ 30 บาท ไป-กลับ จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าน้ำมัน 1,500 บาทต่อเที่ยว เดือนหนึ่งไป 4 ครั้งก็ประมาณ 6,000 บาท ปีละ 72,000 บาท เทียบกับราคาที่ดินที่อาจจะแพงกว่าแต่ใกล้กว่า อย่างไหนคุ้มกว่ากัน อันนี้ควรคำนวณให้รอบคอบค่ะ
3. ที่ดินควรใกล้ตลาดหรือชุมชน หรือผู้ซื้อรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถขนส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้โดยง่าย (หากคิดจะปลูกเพื่อจำหน่าย) เช่น อยากปลูกมะม่วงส่งออกแต่ผู้ปลูกอยู่ภาคใต้ ส่วนผู้ส่งออกอยู่ภาคเหนือและภาคกลาง อย่างนี้ ถ้าปลูกไม่มากพอก็จะไม่มีผู้ซื้อวิ่งไปซื้อแน่ ๆ ค่าน้ำมันทุกวันนี้แพงมาก ๆ ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ซื้อมักจะถามก่อนว่าปลูกกี่ไร่ กี่ต้น ผลผลิตกี่ตัน (ถ้าไม่ถึง 4-5 ตัน ส่วนมากรายใหญ่เขาไม่วิ่งมาค่ะ)
4. ควรมีเพื่อนบ้านและสังคมที่ดี ก่อนซื้อที่ดินควรลองไปสำรวจดูว่าเพื่อนบ้านมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ที่ดินบางผืนราคาถูกเพราะเพื่อนบ้านขี้ขโมย ผลผลิตอะไรออกมาหายหมด ติดตั้งปั๊มน้ำก็หาย บางทีเผลออาทิตย์เดียวบ้านทั้งหลังรื้อเอาไปขายก็มี ลองไปถามสถานีตำรวจในพื้นที่ดูว่าคดีลักขโมยมีแยะไหม ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และทัศนคติเขาเป็นอย่างไร
5. ที่ดินควรมีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่บ้าง เพื่อแสดงว่าดินที่นี่ปลูกต้นไม้ได้ บางคนไปซื้อที่ดินที่เตียนโล่งแม้แต่หญ้าก็ไม่ขึ้น แล้วมาดีใจว่าไม่ต้องถางหญ้าปรับที่ดิน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นดินเค็มที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้ หากเป็นไปได้ลองสังเกตด้วยว่าต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินนั้นเป็นต้นอะไรเพื่อจะได้ทราบว่าที่ดินผืนนั้นเพาะปลูกผลไม้ชนิดใดได้ดีที่สุด
6. ที่ดินทำสวนเกษตรส่วนใหญ่ควรเป็นพื้นราบ เพราะหากเป็นที่ลาดชันเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไหลลงเบื้องล่างหมด หากต้องทำขั้นบันไดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่ดินผืนราบ แต่หากจะปลูกไม้ยืนต้นพวกไม้ป่า ก็เป็นที่เนินเขาได้ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นกับพืชที่เลือกจะปลูก
7. ไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขัง ที่ดินบางผืนในช่วงฤดูฝนจะตรงกับแนวน้ำท่วมพอดี อย่างนี้ปลูกพืชอะไรไม่ทันเก็บเกี่ยวก็ตายหมด แล้วอย่ามาดีใจว่าไม่ปลูกพืชก็ได้ไหนๆน้ำมากเลี้ยงปลาเสียเลย ขอโทษค่ะ พอน้ำท่วมขึ้นมาปลาที่เลี้ยงก็หายหมดเหมือนกัน
8. ให้สำรวจหน้าดินของที่ดินที่ซื้อด้วยค่ะ พอดีมีเพื่อนเกษตรกรโทรมาปรึกษา มีที่ดินแต่หน้าดินที่ปลูกพืชได้มีเพียง 1-2 เมตรลึกลงไปกว่านั้นกลายเป็นดินผสมหินแบบแข็งเลย รากพืชชอนไชลงไปไม่ได้ อย่างนี้หากก่อนซื้อเตรียมแผนไว้ก็คงต้องปรับแผนเพื่อปลูกพืชที่มีระบบรากไม่ลึกมากค่ะ
9. เวลาซื้อที่ดิน อย่ามองแค่ค่าที่ดินอย่างเดียว ให้คำนึงถึงว่าจะต้องมีค่าปรับปรุงที่ดินอีกเท่าไหร่ด้วย เช่น หากที่ดินมีต้นไม้รกเรื้อ หรือมีการขุดร่อง ขุดแนวคันเอาไว้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร ต้องจ้างรถแมคโครปรับปรุงใหม่อีกเท่าไหร่ ที่ดินมีไฟฟ้า มีถนนถึงหรือยัง หากซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่นก็ต้องจ่ายค่าทำถนนเข้าไปยังที่ดินอีกเท่าไหร่ ค่าเดินสายไฟเข้าไปยังที่ดิน ค่าขุดคลองส่งน้ำหรือระบบชลประทาน แล้วยังค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกโฉนดอีก เรื่องพวกนี้รวม ๆ แล้วอาจทำให้ที่ดินไร่ละ 5 หมื่นกลายเป็นไร่ละ 3 แสนก็เป็นได้ค่ะ
10. การซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่น ควรตกลงกันให้แน่ชัดตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะร่วมกันรับผิดชอบอย่างไร ค่าโอนที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ นอกจากนี้ถนนที่จะตัดเข้าไปยังที่ดินของแต่ละคนจะตกลงค่าใช้จ่ายและกรรมสิทธิ์กันอย่างไร บางคนเห็นว่าที่ดินตนเองอยู่ด้านหน้าก็ไม่ต้องการร่วมออกค่าถนนกับคนที่ซื้อที่ดินที่ลึกไปด้านหลัง เลยทำให้มีปัญหากันได้ แล้วยังเรื่องน้ำ หากคนที่อยู่ต้นน้ำเก็บกักน้ำ คนที่อยู่ปลายน้ำจะทำอย่างไร ควรมีการทำสัญญากันไว้ให้ชัดเจน และเป็นภาระผูกพันกับที่ดิน เพราะหากวันนี้แม้เชื่อใจกัน ไม่มีปัญหากันก็จริง แต่พอผ่านไปหากคนหนึ่งขายที่ไปให้บุคคลอื่น ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
การเลือกพืชที่จะเพาะปลูก
1. ก่อนจะปลูกอะไร กรุณาสำรวจสภาพดินและน้ำก่อนว่าเหมาะกับพืชในใจคุณหรือเปล่า อย่าบุ่มบ่ามลงมือปลูกตามกระแส หรือตามใจชอบ ตัวอย่างเช่น ที่ดินสวนวสาเป็นดินเปรี้ยวเพาะปลูกพืชตระกูลส้ม-มะนาวได้ดี มะม่วง มะละกอได้ แต่ปลูกทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่โต (ลองแล้ว) ถึงกระนั้นก็ตามเวลาเรามี “เกษตรเกิน” (ผู้ที่แสดงตนว่ารู้มากกว่าเกษตรกร) มาเยี่ยมที่สวนก็มักจะแนะนำให้เราลองปลูกมังคุด ปลูกทุเรียนอยู่เสมอ ๆ เพราะส่งนอกได้ราคาดี คนแนะนำส่วนใหญ่ก็คิดแค่นั้น แต่เกษตรกรที่แท้จริงที่เป็นเจ้าของที่ดินควรศึกษาสภาพดินและน้ำก่อนลงมือปลูกอะไร เพื่อจะได้ประหยัดเวลาและทุนที่ถมลงไป
2. ควรเลือกพืชที่จะปลูกมากกว่า 1 ชนิดเพื่อบริหารความเสี่ยง เผื่อชนิดหนึ่งราคาตกหรือขายไม่ออก ชนิดอื่นจะได้ช่วยเฉลี่ยรายได้ แต่ไม่ควรหลายชนิดเกินไปจนปริมาณไม่คุ้มค่าขนส่ง เช่น มีที่ดิน 1 ไร่ แต่อยากปลูกมะม่วง มังคุด ลำไย มะนาว พริกขี้หนู เพื่อส่งออก แบบนี้แนะนำว่าให้ลืมเรื่องส่งออกไปได้เลย ให้ปลูกแบบพอเพียง คือเก็บทานเอง หรือส่งตลาดแถวสวนจะดีกว่าค่ะ
3. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำไม่เท่ากัน หากจะปลูกผสมผสาน ควรเลือกพืชที่ต้องการน้ำ ปุ๋ยและยาคล้าย ๆ กันปลูกไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ปริมาณแสงก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพืชชนิดหนึ่งต้องการแสงมาก ก็อย่าปลูกไว้ใกล้ ๆ กับพืชที่ให้ร่มเงา เช่น อย่าปลูกมะละกอไว้ใกล้กอไผ่ เพราะในที่สุดร่มเงาของไผ่จะบังมะละกอทำให้ไม่สามารถเติบโตได้ และเกิดโรคระบาดในที่สุด หรือ หากจะปลูกมะนาวทำนอกฤดู ก็ไม่ควรปลูกใกล้กับพืชที่ต้องการน้ำ เพราะพอเรางดน้ำเพื่อให้มะนาวออกดอก ต้นไม้ข้าง ๆ ก็จะตายไปด้วย ทำนองนี้
4. ตามทฤษฎีพอเพียง ควรปลูกพืชชนิดให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับการเกษตรของท่านด้วย เช่น หากปลูกส้มหรือมะนาว ก็ควรเผื่อพื้นที่สำหรับปลูกไผ่ไว้ด้วย เพราะเวลาค้ำต้นมะนาวหรือส้มต้องใช้ไม้ไผ่ แทนที่จะไปซื้อ ก็ปลูกเองประหยัดกว่า นอกจากนี้หากใครคิดทำเกษตรอินทรีย์ ก็ปลูกพวกสะเดา หนอนตายหยาก หรือสมุนไพรอื่น ๆ ไว้ด้วย จะได้เอาไว้ทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายค่ะ
5. นอกจากนี้ ให้คิดในใจเสมอว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน อย่าคิดว่าการลอกเลียนแบบสวนที่ประสบความสำเร็จแล้วคุณจะประสบความสำเร็จด้วย การเกษตรไม่ใช่บะหมี่สำเร็จรูปที่ต้มกินที่ไหนก็รสชาติเดิม มักจะมีคนถามว่าหากปลูกมะนาวเหมือนสวนวสาต้องใส่ปุ๋ยเดือนไหน ฉีดยาเดือนไหน ฉีดอะไร ซึ่งขอเรียนว่า สวนวสาอยู่นครนายก สภาพภูมิอากาศและดินจะต่างจากสวนที่อยู่ราชบุรี พิษณุโลก หรือ เชียงใหม่ ดังนั้น เวลาที่ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บผลผลิตก็จะต่างกัน ช่วงเวลาเดียวกันที่สวนวสาเจอโรคราน้ำค้างแต่สวนอื่นอาจเจอเพลี้ยแป้ง อย่างนี้ยาที่ใช้ก็ต่างกัน ต้องหมั่นสังเกตอาการของพืชแล้วค่อยคิดเรื่องการบำรุงรักษาพืชค่ะ
6. เกษตรกรมือใหม่หลาย ๆ คนมักจะคิดว่า "พืช" ก็เหมือนวัตถุ สิ่งของ ที่ซื้อมาเก็บเอาไว้ก็ไม่เสื่อมสลาย ไม่เปลี่ยนรูป เหมือนเสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ ดังนั้น พออ่านประกาศโฆษณาขายเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ชนิดโน้นชนิดนี้ ที่กำลังเป็นสมัยนิยมกัน ก็เกิดความอยากครอบครองเป็นเจ้าของ เลยสั่งมาเก็บไว้ก่อน ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ปลูก บางคนยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ซื้อที่ดินเลยด้วยซ้ำ!!! ทีนี้กว่าจะซื้อที่ กว่าจะปรับดิน ทำร่องน้ำ ทำระบบน้ำ เวลาก็ผ่านไปปีเศษ แล้วค่อยนำเมล็ดมาเพาะ แล้วก็พบว่า อ้าว.... เมล็ดที่ซื้อมาทำไมมันไม่งอก โดนหลอกขายมาแน่ ๆ เลย หรือไม่ก็เป็นกรณีกิ่งพันธุ์ที่ซื้อมา อุตส่าห์เอาลงกระถางไว้แล้วนะ บำรุงจนต้นโตเบ้อเริ่ม เอาลงดินมันต้องเก็บผลได้ในไม่กี่เดือนแน่นอน ในความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้นนะคะ อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ตาม ยิ่งเก็บนานมันยิ่งมีอัตราการงอกต่ำ บางพันธุ์ดีหน่อยคืองอกแต่งอกช้า บางพันธุ์พอความชื้นในเมล็ดมันหมดเมล็ดก็แห้งตายไปและไม่งอกค่ะ ส่วนต้นไม้ ถ้าเรานำลงกระถางไว้นาน ๆ รากมันจะขดอยู่ในกระถาง เวลาเอาไปลงดินมันเลยโตช้า เพราะแทนที่รากจะได้ชอนไชไปหาอาหารไกลๆ ก็กลับจับวนกันเป็นก้อนที่ก้นกระถางค่ะ
7. การเลือกพืชที่จะปลูก นอกจากความแท้ของสายพันธุ์แล้ว ควรพิจารณาวางแผนการปลูกให้ผลผลิตออกมาเป็นพันธุ์แท้ด้วยค่ะ จะได้ไม่มีปัญหาด้านการตลาด และการขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคต ขออนุญาตยกตัวอย่างมะนาวไร้เมล็ด (ซึ่งการขยายพันธุ์ทำโดยการตอนกิ่ง) หากปลูกรวมกันในระยะใกล้กันกับมะนาวมีเมล็ด เช่น มะนาวแป้น ก็มีความเสี่ยงว่าผลที่ออกมาอาจจะมีเมล็ดเนื่องจากเกสรอาจจะผสมกันได้ ทำให้มีปัญหาด้านการตลาดต่อไป เช่นเดียวกับมะละกอ หากปลูกหลายสายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน ก็อาจทำให้ผลที่ออกมามีรสชาติและกลิ่นแตกต่างไป ทำให้มีปัญหาด้านการตลาดค่ะ การปลูกพืชแนวผสมผสาน ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชตระกูลเดียวกันในพื้นที่เดียวกันค่ะ
8. โปรดชิมก่อนปลูก มีลูกค้าจำนวนมาก โทรมาสั่งซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวตาฮิติ และเมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ของสวนวสา โดยประมาณ 30% ของลูกค้า มักมีคำถามประโยคที่ว่า "รสชาติมันเป็นยังไงครับ/คะ" ซึ่งทำให้ทางเราตอบไปว่า "กรุณาไปที่ซุปเปอร์หรือตลาด แล้วซื้อมาชิมก่อน ถูกใจค่อยมาซื้อกิ่ง/เมล็ดพันธุ์ไปปลูก" เราอยากแนะนำเกษตรกรทุกคนนะคะ ก่อนจะปลูกพืช ผัก ผลไม้อะไร กรุณาชิมก่อน เพราะถ้าคุณซื้อตามกระแส โดยที่ตัวคุณเองก็ไม่ได้ชอบ อย่างนี้เวลาขายของ ลูกค้าถามว่าอร่อยไหม มันดียังไง เจ้าของสวนก็ตอบไม่ได้ แล้วจะขายของอย่างไรกัน และถ้าใจคนปลูกไม่ได้รักสิ่งที่ตนเองปลูก พืชผักมันก็ไม่งามนะคะ เพราะเจ้าของไม่ได้ชิมเอง ไม่รู้ว่ามันหวานหรือไม่หวาน น้ำเยอะไหม ทำกับข้าวได้ไหม อย่างนี้เป็นต้น ตัวอย่าง บางคนไม่ทานมะละกอ แต่จะปลูกมะละกอ เพราะในหนังสือเกษตรเขาลงกันทุกเล่ม มะละกอเงินล้าน เลยอยากได้เงินล้านบ้าง อย่างนี้ จุดตั้งต้นไม่ใช่เพราะอยากเป็นเกษตรกรแต่เป็นเพราะเงินล้าน มุ่งหาเงินโดยไม่รู้จักพืช ก็ไปไม่ถูกทางนะคะ ในที่สุดจะขาดทุนเปล่า ๆ ไปซื้อชาเขียวกิน อาจจะได้เงินล้านง่ายกว่า ไม่ต้องเป็นหนี้เขาด้วย เป็นห่วงจริง ๆ ค่ะ หลัง ๆ มานี่ มีการโหมกระแสพืชชนิดใหม่หลายชนิดจำนวนมาก ทั้งในหนังสือเกษตร ทั้งในเว็บ ทั้งร้านต้นไม้ ทำให้เกษตรกรมือใหม่หลายคนลงทุนซื้อกิ่งพันธุ์ไปโดยไม่รู้ด้วยซ้ำนะว่าผลมันออกมาหน้าตาเป็นยังไง รสชาติเป็นอย่างไร ได้แต่อ่านว่ามันดี ต้านทานโรค ดูแลง่าย มีอนาคตไกล ก็ตัดสินใจสั่งไปปลูกแล้ว 300 ต้น ปลูกไป 2 ปีพอเก็บผลได้ปรากฏว่าตลาดไม่รับซื้อ เสียเวลาเสียเงินไปเปล่า ๆ แบบนี้มีเยอะมากค่ะ
การตลาด
1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ
2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดี ควรประเมินสภาพตลาดให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาวลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้างหน้ายาว ๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขายได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริมไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสาคือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย
3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกในจำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขายในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวนมากพอที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยกพืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้น หากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาดเล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบางท่านสามารถปลูกพริกหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ
4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ในพื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือน ๆ กัน แต่คิดจะตั้งโรงงานแช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไปเซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตรเกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมาขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือการส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซนต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่าเสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน นอกจากนี้ บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสองครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้
5. เรื่องการตลาดนี่ พอเขียนไปแล้วดูเหมือนจะทำให้หลายคนเครียดเกินไป วันนี้มีลูกค้าโทรมาหารือว่าถ้าผมปลูกมะนาว 20 ต้นจะหาตลาดได้ที่ไหน คำตอบที่สวนวสาให้คือ ให้หาตลาดแถวบ้านตัวเองค่ะ เพราะการปลูกมะนาว 20 ต้นนั้นผลผลิตต่อการเก็บ 1 ครั้งไม่น่าจะถึง 100 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยอาจจะแค่ 20-50 กิโลกรัม ดังนั้นหากคิดจะส่งตลาดไท แค่ค่าขนส่งก็มากกว่าค่ามะนาวแล้วค่ะ ส่วนการส่งออกไม่ต้องพูดถึงเลย นอกจากนี้หากมีร้านอาหาร ร้านค้าปลีกแถวบ้านก็สามารถไปติดต่อส่งได้ค่ะ สำคัญที่ขอให้รักษาผลผลิตให้มีป้อนร้านสม่ำเสมอและมีคุณภาพต่อเนื่องเท่านั้นเอง เรื่องการตลาดนี่ ไม่คิดถึงเลยก็ไม่ได้ คิดมากไปก็ไม่ดีค่ะ จะเครียดเปล่า ๆ
การเตรียมตัว/วางแผน
1. เมื่อมีที่ดินแล้ว มีทุนแล้ว ทราบว่าดินเป็นดินชนิดไหน เข้าใจสภาวะอากาศของพื้นที่แล้ว เลือกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ได้แล้ว เราก็เริ่มวางแผนกันค่ะ อยากให้เกษตรกรทุกคนวางแผนบนกระดาษก่อนว่าจะแปลนสวนของตนเองอย่างไร บ้านจะอยู่ตรงไหน บ่อน้ำ (ถ้ามี) จะอยู่ตรงไหน และส่วนไหนกะว่าจะปลูกพืชอะไร จำนวนกี่ต้น
2. ระบบน้ำเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ก่อนจะลงพืชชนิดใด ๆ ระบบน้ำควรจะพร้อมก่อน หากพื้นที่เป็นสภาพเนินเขา ก็ไม่เหมาะกับการทำระบบร่องน้ำที่มีน้ำหล่อแบบร่องสวนที่ทำกันในพื้นที่ราบ แต่ควรใช้การขุดทางระบายน้ำเพื่อว่าหน้าฝนน้ำสามารถไหลลงมาได้โดยไม่เอ่อขังที่โคนต้นไม้ และใช้ระบบรดน้ำแบบตามท่อน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ โดยอาจสูบน้ำไว้ที่สูงและปล่อยมาตามแรงดึงดูดโลก หรือใช้ปั๊มน้ำก็ได้ค่ะ ส่วนพื้นที่ราบนั้นให้ศึกษาว่าระบบน้ำที่เราใช้เหมาะกับพืชหรือไม่ เช่น หากปลูกมะม่วง มะนาว ในดินเหนียวก็ไม่ควรใช้น้ำหยดแต่ควรใช้สปริงเกลอร์ เพราะระบบน้ำหยดจะหยดอยู่แค่วงแคบ ๆ ในขณะที่รากพืชแผ่ขยาย แต่หากปลูกพวกพริกหรือมะเขือเทศในถุงก็สามารถใช้ระบบน้ำหยด (dripping) ได้ค่ะ เรื่องการบริหารน้ำนี้มีผลต่อการเติบโตของพืชและคุณภาพผลผลิตค่ะ นอกจากนี้ มีเกษตรกรพาร์ทไทม์บางคนคิดว่าในช่วงเริ่มต้นไม่ต้องวางระบบน้ำก็ได้ พึ่งฝนฟ้าเอา และให้คนงานลากสายยางรดน้ำเอาก็ได้ พื้นที่แค่ไร่สองไร่เอง ก็อยากให้ทดลองรดน้ำเองดูค่ะว่าเหนื่อยแค่ไหน และก็อย่าหวังผลให้มากค่ะหากพืชผลออกมาไม่ได้ขนาด หรือร่วงไปแยะ หรือไม่ติดผล ซึ่งอยากให้คิดดี ๆ ค่ะ ทีกิ่งพันธุ์เราไปอุตส่าห์เสาะหาจากแหล่งทั่วประเทศได้ ปุ๋ยหมักก็ไปเสาะหาส่วนประกอบต่าง ๆ มา ลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่มาประหยัดกับเรื่องน้ำ แล้วต้นไม้ก็แคระแกร็น มันคุ้มไหม
3. เมื่อระบบน้ำพร้อมแล้ว ก็มาถึงกิ่งพันธุ์ของพืชที่จะลงค่ะ แนะนำให้ศึกษาจากเว็บไซต์เกษตรพอเพียงและหนังสือเกษตรต่าง ๆ ค่ะ ราคากิ่งพันธุ์พืชชนิดเดียวกัน อาจต่างกันตามผู้ขายค่ะ หากปลูกจำนวนมาก อยากให้ผู้ซื้อแวะไปที่สวนของผู้ขายแต่ละรายค่ะจะได้สัมผัสกับต้นพันธุ์ของจริง รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ อย่าดูแต่ในรูปค่ะ เพราะหากปลูกพันธุ์ไม่แท้จะมีปัญหาเรื่องการตลาดค่ะ นอกจากนี้ ขอเรียนว่าราคากิ่งพันธุ์เป็นเงินลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนกับต้นทุนรวมทั้งหมดของการเกษตร อยากให้ผู้ซื้อพิจารณาหลัก ๆ ในเรื่องความเสี่ยงเรื่องความแท้ของสายพันธุ์ บวกกับค่าน้ำมันที่ต้องไปเสาะหากิ่งพันธุ์ที่ต้องการ ก่อนตัดสินใจค่ะ
4. การบำรุงรักษา เมื่อปลูกพืชลงไปแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ตัดแต่งกิ่ง เก็บผลผลิต ตัดหญ้าที่รก ๆ ในแปลง รวมไปถึงการดูแลในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น เครื่องสูบน้ำพัง ไฟฟ้าตัด น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภาวะฝนแล้ง หนูแทะสายสปริงเกลอร์ฯลฯ ดังนั้น หากท่านเป็นเกษตรกรเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องมีคนงานที่ไว้ใจได้ช่วยดูแลค่ะ และค่าใช้จ่ายส่วนบำรุงรักษานี้ก็มากเสียด้วยสิ ที่สำคัญท่านต้องศึกษาหาความรู้ด้านนี้พอควรค่ะ ไม่งั้นโดนหลอกน่าดู เช่น หากจะจ้างคนมาตัดหญ้าควรจ่ายเหมาต่องานที่สำเร็จไม่ใช่จ่ายรายวัน เพราะบางทีก็มีอู้งานค่ะ
5. อุปกรณ์การเกษตร ที่จำเป็นต้องใช้ในสวนหลัก ๆ นอกจากพวกจอบ เสียม เครื่องมือพื้นฐานแล้ว ก็มีพวกเครื่องตัดหญ้า เครื่องฉีดยาแบบสะพายหลังหรือแบบลาก ถังหมักหรือผสมปุ๋ย ตะกร้าสำหรับเก็บผลไม้ค่ะ อุปกรณ์การเกษตรพวกนี้เวลาซื้อให้คุยหลาย ๆ ร้านค่ะ แต่ละร้านจะเป็นเอเย่นต์ของแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ถามความเห็นเพื่อน ๆ ในเว็บนี้ก็ได้ค่ะ แต่ละคนจะมีประสบการณ์ในอุปกรณ์หลาย ๆ แบบค่ะ ควรเลือกให้เหมาะกับงานในสวนค่ะ ที่สำคัญ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เช่น เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ราคามันมีตั้งแต่ 1,000 กว่าบาทถึง 10,000 กว่าบาท ซึ่งต่างกันมาก ของถูกก็แน่นอนว่าคุณภาพก็ตามราคา ตัดหญ้าสามวันก็อาจจะหลุดเป็นชิ้น ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าของแพงสุดจะดีที่สุดเสมอไป ให้ศึกษาจากเพื่อนเกษตรกรคนอื่นดูค่ะ ที่สำคัญ เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้ต้องหาที่มีอะไหล่และศูนย์ซ่อมด้วยค่ะ บางยี่ห้อบอกว่าทนทานแต่คนเอามาขายขายแต่เครื่องอย่างเดียวไม่มีอะไหล่ พอเสียก็ต้องทิ้งเลย นอกจากนี้ หากมอเตอร์เสีย เครื่องตัดหญ้าเสียจะซ่อมที่ไหนที่ใกล้ ๆ ไม่ต้องขนไปขนมาถึงกรุงเทพ ควรเตรียมข้อมูลแหล่งซ่อมที่เชื่อถือได้ค่ะ ไม่งั้นโดยฟันเละค่ะ
คนงาน
1. ควรมีให้พร้อมค่ะ แต่อย่าคาดหวังอะไรมากเกินไป เพราะคนงานก็คือคนงานค่ะ ถ้าเขาขยันและฉลาดกว่านี้ เขาก็ไม่มาเป็นคนงานค่ะ การดูแลคนงานให้อยู่กันนาน ๆ บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งค่ะ บางทีเขาอาจจะกินเหล้า เล่นหวย อู้งานบ้าง ตราบใดที่งานที่สั่งไว้เขาทำสำเร็จ ก็พอไปรอดค่ะ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจได้ ของในสวนอย่าหาย (อาจมีเก็บไปกินบ้างก็ปล่อย ๆ ไปค่ะ) แต่ประเภทยกมอเตอร์ไปขาย หรือให้เมียเปิดแผงที่ตลาดขายผลไม้ที่ขโมยมาจากในสวนเรา อันนี้ก็ต้องให้จรลีไปค่ะ ที่สวนวสาอนุญาตให้คนงานปลูกพืชผักที่อยากกินได้ตามสบาย หาเมล็ดผักมาให้เขาด้วย ผลไม้ในสวนหากอยากกินก็ให้เอาไปแต่พอกิน แต่ห้ามเอาไปขาย ให้จับปลาในร่องสวนมากินได้ แต่ห้ามจับไปขาย เว้นแต่คนงานจะลงทุนซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชังเองก็ให้ทำได้แต่ต้องเลี้ยงนอกเวลางาน อยากเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ก็ให้เลี้ยงได้ในพื้นที่จำกัด เขาจะได้เก็บไข่กินได้เอง แต่ไม่อนุญาตให้ทำเพื่อค้าขาย ไม่งั้นวัน ๆ เอาแต่บำรุงรักษาพืชผักเป็ดไก่ของตัวเองจนไม่ได้ทำงานของเรา
2. ค่าจ้างคนงาน ส่วนมากเราใช้จ้างเป็นรายวันค่ะ แต่มีหัวหน้าคนงานที่เราจ่ายเป็นรายเดือน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 180-300 บาทค่ะ คนต่างด้าวจะได้ที่ราวๆ 180-250 บาท คนไทยได้ที่ 200-300 บาทค่ะ หากเกิน 5 โมงเย็นก็จะมีค่าล่วงเวลาให้ (ช่วงที่เร่งเก็บผลไม้และคัดแยกน่ะค่ะ) บางทีคนซื้อผลไม้เราเขาก็จะจ่ายค่าแรงให้คนงานเราในวันที่เก็บผลไม้ให้เขา เราก็ประหยัดไปได้ค่ะ


ใครคิดจะลาออกงานมาทำเกษตร ..... ลองอ่านอันนี้ก่อนนะครับ เผื่อจะเปลี่ยนใจ
โพสต์โดย ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้ บน 25 มีนาคม 2016

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุดใต้ตำตอ..."การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" แท้จริงแล้ว ใช้วิธีเดียวกันกับการขยายเชื้อ แต่ไม่ต้องใส่หัวเชื้อ...แค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด และใส่วัตถุดิบเหมือนกัน..เช่น
สูตร...ไข่ไก่สดหรือไข่ที่เสียแล้ว(ไข่เน่า)
ไข่ไก่+น้ำปลา
ไข่ไก่+ผงปรุงรส(รสดี)
ไข่ไก่+ผงชูรส
ซุปไก่+น้ำปลา
ซุปไก่+ผงปรุงรส
ซุปไก่+ผงชูรส
ประมาณ 2 อาทิตย์จะเริ่มแดง พอครบ 1 เดือน ก็จะแดงเกือบทุกขวด (สีอาจจะแดงเข้มหรืออ่อน)
.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PhotoSynthetic Bacteria ; PSB) พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด น้ำพุร้อน และน้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย และดิน
.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถใช้บำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน การเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมีและปิโตรเลียม เป็นต้น
จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
สวน 50 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดลงดินขณะเตรียมปลูก หรือฉีดทางลำต้นและรากทุกๆ 7-10 วัน
แปลงผักและดอกไม้ ใช้ 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลำต้นและรากทุกๆ 5-7 วัน
• ทำให้เนื้อปลามีคุณภาพดีขึ้น
• ทำให้ปลามีความแข็งแรงขึ้น
• ช่วยป้องกันโรคซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย เช่น Bacillus และ mildew
• ช่วยย่อยขี้ปลาได้ดี
• ทำให้น้ำมีความสะอาด
น้ำเสียในครัวเรือน ใช้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร

สูตร...ซุปไก่
"เหมือนเส้นผมบังภูเขา"
แต่ก็ไม่มีใครยอมบอกเรา ทำให้เกษตรกรทั้งหลายต้องไปหาซื้อ หัวเชื้อ เพื่อมาขยาย ซึ่งราคาก็แสนแพง บางที่ตกลิตรละ 100 ถึง 150 บาท
(ทั้งนี้เป็นเพราะคำว่า ผลประโยชน์ ของคนบางกลุ่มบางประเภทเท่านั้น)
*หรือเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ เพราะจุลินทรีย์จากเมืองนอกบางที่ ที่เขาได้นำเข้ามา ก็ไม่ได้บอกและ สอนวิธีเพาะเชื้อให้ เขาสอนแต่วิธีขยายมา*
‪#‎แต่ไม่เป็นไร‬# ในเมื่อเรารู้แล้ว ต่อไปเราก็ ไม่จำเป็น ต้องไปหาซื้อหัวเชื้อจากที่ไหนมาขยาย เพียงแค่เรามีไข่ กับน้ำเปล่า เราก็สามารถที่จะเพาะหัวเชื้อขึ้นมาได้เอง เพียงแค่ใช้เวลานานกว่าหน่อยเท่านั่น...
"ตามภาพครับ" ผมใช้ไข่ไก่ 6 ฟองกับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ ปั่นรวมกันทั้งเปลือก..(เวลาเทออกพยายามเทเปลือกไข่ออกมาให้หมด)...สัดส่วนเพิ่มลดได้ตามปริมาณที่เราอยากทำ...
เอาไปเทใส่ขวดน้ำที่ใส่ขวดตากแดดเตรียมไว้แล้ว...
วิธีผสม... ผมใช้ไข่ที่ปั่นแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ(พยายามตักให้ติดเปลือกไข่ทุกช้อน) ผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ 1.5 ถึง 2 ลิตร...(ง่ายๆ คือ ขวดน้ำ 6 ลิตร ผมใส่ไป 3 ช้อนโต๊ะ)...เขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท
ตั้งตากแดดไว้ที่เดิม เขย่าวันละ 1-2 ครั้ง
"ถ้าอยากให้สีสวยเสมอกัน ก็เอามาแลกน้ำกัน"(ดูวิธีที่โพสต์เก่า)
ส่วนประโยชน์นั้น ผมก็ค้นหาข้อมูลจากเน็ตมาให้..โดย
"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง " PSB
นอกจากนี้ ยังมีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดินในบริเวณรากข้าวในระยะข้าวตั้งท้องจะมีสภาวะแบบไม่มีออกซิเจนทำ ให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria) เจริญได้ดี สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) ซึ่งมีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าว
แต่เมื่อนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใส่ลงในดินในระยะเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเปลี่ยนไฮโดรเจนซัลไฟด์ให้อยู่ในรูปสารประกอบ ซัลเฟอร์ในรูปซัลเฟตที่ไม่เป็นพิษต่อราก จึงมีผลให้รากของต้นข้าวเจริญงอกงามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและลักษณะของต้น ข้าวก็มีความแข็งแรง
นอกจากนี้เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ยังสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์ได้เพราะเซลล์ของจุลินทรีย์ สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนสูงถึงร้อยละ 60-65 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 กรดฟอลิค วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงค์วัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) โคเอนไซม์คิว (Coenzyme-Q)
ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB
1.ช่วยย่อยสลายของ เสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า( ไฮโดรเย่นซัลไฟต์ ) โดยที่จุลินทรีย์จะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมี โดยการกำจัด ก๊าซไฮโดรเย่น ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีหลักของก๊าซไข่เน่า ( H2S ) โดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และระหว่างกระบวนการที่กล่าวมานั้นจุลินทรีย์ได้ ขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่ม โกสฮอร์โมน ที่มีรายละเอียดเบื้องต้น
2.ช่วย ลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยเข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเธน ( CH4 ) โดยการย่อยสลายก๊าซไฮโดรเย่น จึงทำให้โครงสร้างเสียไป เหลือแต่คาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ซึ่งแปลงนาโดยทั่วไปย่อมมีกลุ่มก๊าซของเสียอยู่แล้ว
3.ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
4.ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดีทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก
5.สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืชได้
6.เมื่อ ใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆลงได้ สูงสุด 50 % ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงกำไรเพิ่มมากขึ้น
7.หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย
8.ช่วย ในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับ น้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ รางน้ำ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือ กับน้ำเสียที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โรงงานฟอกย้อมผ้า โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เป็นต้น
การใช้งาน. ด้านเกษตร
นาข้าว ใช้ 1 ลิตร ต่อ ไร่ สาดให้ทั่วไร่ 
**ช่วยเร่งให้พืชออกดอก เช่น มะนาว มะเขือเทศ ส้ม มะม่วง มังคุด เป็นต้น
ด้านประมง
1. การเตรียมบ่อ ใช้จุลิทรีย์ 10 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ
2. ระหว่างการเลี้ยง ใช้จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ สัปดาห์ละครั้ง
เลี้ยงปลาสวยงาม
1.ตู้ปลาใหม่ 1 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน
2.ตู้ปลาเก่า 2 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน
3.บ่อปลาขนาดใหญ่ ใช้ 100 CC ต่อน้ำ 1 ตัน ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 100 CC ทุกๆ 7 วัน
การใช้กับฟาร์มปลา
•ช่วยเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวและอัตราการรอดตาย
ด้านบำบัดน้ำเสีย














‪#‎วิธีที่เพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนี้ค้นพบเองได้โดยบังเอิญ‬ และเห็นว่า เป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำเกษตร ของพี่น้องเกษตรกรทุกๆคน จึงได้นำมาเผยแพร่...เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มากๆ#
Cr.‪#‎นาย‬ ทวีศักดิ์ พันธุ์โภคา# เผยแพร่...(14/3/59)
ปล..อยากให้เผยแพร่เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร และบุคคลทั่วไป ได้นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ที่มาบทความและรูปภาพ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1571504106500485&id=100009227321403


#มาแล้วครับวิธีเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง#จุดใต้ตำตอ..."การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" แท้จริงแล้ว ใช้วิธีเดียวกันกั...
โพสต์โดย Taweesak Panpoca บน 13 มีนาคม 2016

ตัวอย่างไอเดียในการเพิ่มมูลค่าในการขายผัก

หนุ่มสถาปนิก ลาออกจากงาน กลับมาปรับปรุงร้านขายผักให้แม่ จนกลายเป็นร้านขายผักที่หลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน ด้วยงบลงทุนเพียง 200 บาท
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะครับ ว่าชีวิตแบบหรูหรา มีหน้ามีตาในสังคม ใช้กับทุกคนไม่ได้จริงๆ ในสังคมปัจจุบัน หลายคนคงต้องการความก้าวหน้าในชีวิต ยอมทำทุกวิถีทางให้ได้ซึ่งชื่อเสียงเงินทอง เกียรติยศ แต่กลับไม่ใช่สำหรับหนุ่มรายนี้ มีดีกรีเป็นถึงสถาปนิก ยอมลาออกจากงาน เพื่อกลับมาใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายที่บ้านเกิด ด้วยอาชีพขายผัก ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกเรื่องราวมาให้ทุกคนได้ดูกัน เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และเขาก็ทำมันได้จริง อีกทั้งมีความสุขกับมันด้วย
และนี่คือแผงขายผักของแม่เขา ซึ่งตั้งอยู่ในตลาด ด้วยความเป็นสถาปนิก เขาจึงทำการดัดแปลงสร้างใหม่ให้เกิดความดึงดูด ชวนน่าซื้อมากขึ้น กลายเป็นรแผงขายผัก แบบน่ารัก ๆ ชิค ๆ ดูทันสมัยขึ้นมา เชื่อหรือไม่ว่า เขาใช้งบทั้งหมดเพียง 200 บาท เท่านั้น ทำได้อย่างไรกัน เราไปดูวัสดุกันเลยจ้า

รายการวัสดุก็มีดังนี้
1. ไม้กระดานอัด = ได้จากป้ายหาเสียงเหลือใช้
2. สีดำเเบบเช็ดได้ = เหลือจากทาผนังในบ้าน
3. ชอล์ก = 20 บาท
4. โคมไฟ = ถาดกรองน้ำกะทิในตลาด 20 บาท
5. หลอด+สายไฟ = 40 บาท
6. ตับจากกั้นผนัง ตับละ 4 บาท x25 ชิ้น = 100 บาท
7. เศษไม้เเละอื่นๆ = หาได้จากในสวน


สุดท้าย เขาได้กล่าวความรู้สึก ภายหลังที่ตัดสินใจออกจากงานว่า "2 ปีที่ได้กลับมาอยู่ที่นี่ ได้กลับมาพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น บนวีถีเกษตรอินทรีย์ นอกจากมันจะทำให้ผมกับครอบครัวมีความสุขเเละสุขภาพที่ดีเเล้ว มันยังพิสูจน์ให้เราเห็นอีกด้วยว่า สิ่งทึ่พระองค์ทรงคิด คือสิ่งที่ดี เหมาะสมกับเกษตรกร เเละคนต่างจังหวัดอย่างเราครับ"


























ลองดูไว้เป็นไอเดียนะครับคนทำเห็ดการต่อยอดสินค้าให้ดูมีชาติตระกูลการทำเห็ดแล้วส่งให้แม่ค้าขายต่อใครก็ทำได้ แต่การสร้าง...
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 14 มีนาคม 2016

เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย








มีความรู้เสียอย่าง เราก็ประยุกต์ต่อได้อีกหลายอย่างการทดลองเพาะเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย ออกดอกถล่มทลาย กันอีกแล้วครับท่านวิศวกรเห็ด
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 11 มีนาคม 2016

พี่ไทยก็มีดี !!เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทย "สีขาวกระโปรงสั้น" หรือมีชื่อวิทยาสาศตร์ว่า Dictyophora Duplicata สายพันธุ์นี...
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 14 มีนาคม 2016

ความสำเร็จอีกขั้นที่น่าภาคภูมิใจของ "ศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ดทฤฎีใหม่"ภาพนี้คือการเพาะเห็ดเยื่อใผ่ในกรุงเทพมหานคร ออกด...
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 3 มีนาคม 2016

อะไรที่ยากๆ วิศวกรเห็ดชอบครับ และในที่สุด!!!! ปรากฏการณ์ใหม่ในวงการเพาะเห็ดเป็นผลจากความเพียร และกล้าคิดนอกกรอบครั้ง...
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 27 กุมภาพันธ์ 2016

ประโยชน์ของผักตระกูลเขียว





ตระกูลเขียวไล่ขี้ #interpoobangkok #interpoo
โพสต์โดย Interpoo บน 14 มีนาคม 2016

เชื้อพันธ์ุเห็ดจากกรมวิชาการการเกษตร





ลิงค์ดาวน์โหลด PDF File  http://doa.go.th/biotech/pdf-document/sheet10-1.pdf



คุณคิดว่าคุณจะสั่งเชื้อเห็ดอะไร จากกรมวิชาการการเกษตรได้บ้าง ???ลองอ่านดูให้ละเอียด มีเห็ดหลายชนิด หลายสายพันธุ์ การ...
โพสต์โดย วิศวกรเห็ด บน 14 มีนาคม 2016

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิธีสร้างบ้านและการเอาตัวรอดในป่า (วีดีโอ)



วิธีสร้างบ้านและการเอาตัวรอดในป่า น่าสนใจครับสำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร ไปไร่ไปสวน
โพสต์โดย โอเอซิส นวัตกรรมสริมอาหารสำหรับพืชทดแทนปุ๋ย บน 13 มีนาคม 2016

วิธีสร้างบ้านและการเอาตัวรอดในป่า น่าสนใจครับสำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร ไปไร่ไปสวน
โพสต์โดย โอเอซิส นวัตกรรมสริมอาหารสำหรับพืชทดแทนปุ๋ย บน 13 มีนาคม 2016

การเพาะเห็ดฟางในนาข้าว



วิธีเพาะเห็ดฟางในนาข้าว ง่ายมากๆเพาะเห็ดฟางอย่างไรให้มีรายได้เดือนละแสนเพาะเห็ดฟางเพื่อให้มีรายได้เดือนละแสนบาทจะต้องมีอะไรบ้าง1.โรงเรือนเพาะเห็ด ที่สามารถเก็บผลผลิตได้โรงเรือนละประมาณ 200 กก.จำนวน 5 โรงเรือน2.วัสดุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดสามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้ 10 ครั้ง3.ตลาดรับซื้อเห็ด ซึ่งราคารับซื้อโดยทั่วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 60 บาท4.แรงงาน 2-3 คนแนวคิดในการเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสน1.โรงเรือนเพาะเห็ดฟางให้ผลผลิต 200 กก. 1 โรงเรือน สามารถเพาะเห็ดฟางได้เดือน ละ 2 ครั้งได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมถ้าเพาะเห็ดฟางจำนวน 5 โรงเรือน ๆ ละ 2 ครั้ง จะได้ผลผลิตประมาณ 2,000 กิโลกรัม2.ราคาเห็ดฟางในตลาดที่รับซื้อโดยทั่วไป กิโลกรัมละ 60 บาท ได้เห็ดฟาง 2,000 กิโลกรัม/เดือน จะมีรายได้เดือนละประมาณ 120,000 บาท หรือปีละ1,440,000 บาทจะเห็นได้ว่าเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสนสามารถทำได้จริง ดังนั้นเพาะเห็ดฟางจำนวน 5 โรงเรือนสามารถมีรายได้หลักแสนได้อย่างสบายๆสมกับคำที่กล่าวเห็ดฟางเงินล้านจริงๆการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจเนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเพาะเห็ดประมาณ 10 วันก็สามารถเก็บเห็ดขายและมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้แล้ว อย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจะให้มีผลผลิตที่แน่นอน หากได้มีการเรียนรู้และทำความเข้าใจมีขั้นตอนการทำงานโดยถ่องแท้แล้ว และได้นำไปปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ ก็สามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างสะบาย Cr: Mama Pyjama ☆ Breastfeeding Channel""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""โอเอซิสอาหารเสริมพืช ช่วยเร่งราก เร่งผล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ผลดก ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ผลิตจากสารออร์แกนิคธรรมชาติ(สาหร่าย) จึงปลอดภัยกับทุกคน สนใจติดต่อสอบถามคุณป้อม โทร-086-412-4288 id line:jomkit19คุณเป้า โทร 086-309-4294 id line: pakpao8989คุณนุ้ย โทร 086-342-6987ติดตามเรา : https://www.facebook.com/iamgeniussupport/เยี่ยมชมเว็บไซต์เรา : http://www.iamgeniuses.com/เยี่ยมชม : http://iamgeniuses.blogspot.com/
โพสต์โดย โอเอซิส นวัตกรรมสริมอาหารสำหรับพืชทดแทนปุ๋ย บน 9 มีนาคม 2016

วิธีเพาะเห็ดฟางในนาข้าว ง่ายมากๆ

เพาะเห็ดฟางอย่างไรให้มีรายได้เดือนละแสน


เพาะเห็ดฟางเพื่อให้มีรายได้เดือนละแสนบาทจะต้องมีอะไรบ้าง

1.โรงเรือนเพาะเห็ด ที่สามารถเก็บผลผลิตได้โรงเรือนละประมาณ 200 กก.จำนวน 5 โรงเรือน
2.วัสดุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดสามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้ 10 ครั้ง
3.ตลาดรับซื้อเห็ด ซึ่งราคารับซื้อโดยทั่วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 60 บาท
4.แรงงาน 2-3 คน
แนวคิดในการเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสน
1.โรงเรือนเพาะเห็ดฟางให้ผลผลิต 200 กก. 1 โรงเรือน สามารถเพาะเห็ดฟางได้เดือน ละ 2 ครั้งได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัม
ถ้าเพาะเห็ดฟางจำนวน 5 โรงเรือน ๆ ละ 2 ครั้ง จะได้ผลผลิตประมาณ 2,000 กิโลกรัม
2.ราคาเห็ดฟางในตลาดที่รับซื้อโดยทั่วไป กิโลกรัมละ 60 บาท ได้เห็ดฟาง 2,000 กิโลกรัม/เดือน จะมีรายได้เดือนละประมาณ 120,000 บาท หรือปีละ1,440,000 บาท
จะเห็นได้ว่าเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสนสามารถทำได้จริง ดังนั้นเพาะเห็ดฟางจำนวน 5 โรงเรือนสามารถมีรายได้หลักแสนได้อย่างสบายๆสมกับคำที่กล่าวเห็ดฟางเงินล้านจริงๆ
การเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจเนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเพาะเห็ดประมาณ 10 วันก็สามารถเก็บเห็ดขายและมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้แล้ว อย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจะให้มีผลผลิตที่แน่นอน หากได้มีการเรียนรู้และทำความเข้าใจมีขั้นตอนการทำงานโดยถ่องแท้แล้ว และได้นำไปปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ ก็สามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างสะบาย 

Cr: Mama Pyjama ☆ Breastfeeding Channel
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
โอเอซิสอาหารเสริมพืช ช่วยเร่งราก เร่งผล ดึงช่อ แตกกอ ลงหัว ผลดก ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ผลิตจากสารออร์แกนิคธรรมชาติ(สาหร่าย) จึงปลอดภัยกับทุกคน 
สนใจติดต่อสอบถาม
คุณป้อม โทร-086-412-4288 id line:jomkit19
คุณเป้า โทร 086-309-4294 id line: pakpao8989
คุณนุ้ย โทร 086-342-6987
ติดตามเรา : https://www.facebook.com/iamgeniussupport/
เยี่ยมชมเว็บไซต์เรา : http://www.iamgeniuses.com/
เยี่ยมชม : http://iamgeniuses.blogspot.com/




วิธีเพาะเห็ดฟางในนาข้าว ง่ายมากๆเพาะเห็ดฟางอย่างไรให้มีรายได้เดือนละแสนเพาะเห็ดฟางเพื่อให้มีรายได้เดือนละแสนบาทจะต้อ...
โพสต์โดย โอเอซิส นวัตกรรมสริมอาหารสำหรับพืชทดแทนปุ๋ย บน 9 มีนาคม 2016

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

เกษตรกร จ.ตรัง สร้างคอนโด 4 ชั้นปลูกต้นอ่อนทานตะวันส่งขายได้เดือนละเกือบ 50,000 บาท

เกษตรกร จ.ตรัง สร้างคอนโด 4 ชั้นปลูกต้นอ่อนทานตะวันส่งขายได้เดือนละเกือบ 50,000 บาท
นางสมัย ฉิมเพชร อายุ 42 ปี อยู่ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง และสามี ใช้พื้นที่ว่างหลังบ้านที่มีความยาวประมาณ 2 เมตรครึ่ง และกว้างประมาณ 2 เมตร มาปลูกต้นอ่อนทานตะวัน เมื่อเริ่มขายดีขึ้นทำให้ต้องขยายพื้นที่ปลูก แต่เนื่องจากเนื้อที่หลังบ้านมีจำกัด จึงต้องทำเป็นชั้น ๆ เหมือนคอนโด
เพื่อให้สามารถเพาะต้นอ่อนทานตะวันขายให้ได้มากที่สุด โดยทำคอนโดได้สูง 4 ชั้น มีต้นอ่อนทานตะวันประมาณ 60 ตะกร้า ทำให้สามารถเก็บขายได้ทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท สร้างรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000-50,000 บาท
ต้นอ่อนทานตะวัน เพาะง่าย ๆ กินได้ภายใน 6 วัน
วัสดุอุปกรณ์
เมล็ดทานตะวัน(เมล็ดดำ,เมล็ดลาย)
ตะกร้าหรือภาชนะสำหรับเพาะ
ดินผสม
ถุงพลาสติกสีดำ
วิธีทำ
1.เตรียมเมล็ดเพาะ โดยการนำเมล็ดทานตะวัน ล้างน้ำ 2 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดมากับเมล็ด
2.แช่น้ำอุ่นทิ้งไว้ 8-10 ชั่วโมง แล้วนำไปบ่มทิ้งไว้อีก 1 คืน จนเมล็ดทานตะวันเริ่มมีรากงอก
3.เตรียมดินปลูก โดยใส่ดินปลูกลงไปในตระกล้าสำหรับเพาะเกลี่ยดินให้หนาประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มชื่น
4.นำเมล็ดทานตะวันที่บ่มแล้ว มาเรียงในตะกร้าหรือภาชนะเพาะสำหรับเพาะ อย่าให้เมล็ดซ้อนทับกัน และอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไป
5.เมื่อเรียงเมล็ดทานตะวันเสร็จแล้วให้โรยดินทับเมล็ดทานตะวัน แล้วรดน้ำให้ดินชุ่มอีกครั้ง
6.นำถุงพลาสติกสีดำคลุมตะกร้าหรือภาชนะเพาะ พร้อมกับนำไปวางไว้ในที่ร่ม รดน้ำทุกเช้า-เย็น ทุกวัน เป็นเวลา 4 วัน
7.วันที่ 4 ต้นอ่อนทานตะวันเริ่มโต นำถุงพลาสติกสีดำที่คลุมตะกร้าหรือภาชนะเพาะออก จากนั้นนำต้นอ่อนทานตะวันมารับแสงแดด ซึ่งจะเห็นใบทานตะวันเริ่มเป็นสีเขียว
8.เก็บผลผลิตเมื่อต้นอ่อนทานตะวันมีอายุประมาณ 5-6 วัน ทั้งนี้ ควรตัดต้นอ่อนทานตะวันในระยะที่เหมาะสม คือ ระยะที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร








เกษตรกร จ.ตรัง สร้างคอนโด 4 ชั้นปลูกต้นอ่อนทานตะวันส่งขายได้เดือนละเกือบ 50,000 บาท นางสมัย ฉิมเพชร อายุ 42 ปี อยู่ ต...
โพสต์โดย โอเอซิส นวัตกรรมสริมอาหารสำหรับพืชทดแทนปุ๋ย บน 23 กุมภาพันธ์ 2016