สมเด็จพระเทพฯ รับสั่ง "ภูเขาเมืองน่านมันโกร๋นไปหมด" ..... เขาน่านหัวโล้น ไม่ใช่เพิ่งจะเกิด ในหลวงทรงทราบถึงปัญหา ป่าบนเขาในจังหวัดน่าน ถูกเผาทำลาย เพื่อทำไร่ ปลูกข้าวโพด และปลูกพืชต่างๆ ทำให้จังหวัดน่าน มีพื้นที่เขาหัวโล้น และมลพิษที่เกิดจากการเผาป่า อยู่เป็นจำนวนมาก ป่าไม้ในจังหวัดน่านลดลงไป อย่างต่อเนื่อง ทรงมีรับสั่งให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ให้คืนสู่สมดุล โดยเร็วที่สุด จึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกันในการจัดประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน”
ป่าน่านหายไปอย่างรวดเร็ว จากป่าเขียวกลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่าและแนวโน้มลดลดต่อเนื่อง บวกกับข้อมูลน่าตกใจช่วง 5 ปีหลัง น่านสูญเสียป่า 1 แสนไร่ต่อปี เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ยางพารา ส่งผลกระทบป่าต้นน้ำ กลายเป็นเขาหัวโล้นทั้งจังหวัด
นายแบงก์ใหญ่ บัณฑูร ล่ำซำ เข้ามีบทบาท โดยชักชวนเกษตรกรน่าน ที่รุกเขตป่าสงวน คืนพื้นที่ไร่ข้าวโพดเป็นผืนป่าเกิดขึ้นอีกครั้ง ในกิจกรรม "คืนป่าน่าน" ภายใต้ โครงการรักษ์ป่าน่าน ธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้สนับสนุนหลัก เพื่อหยุดยั้งการขยาย พื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการรุกผืนป่าไปเรื่อยๆ โดยจะมีการชดเชย ค่าลงทุนการปลูกพืชที่ลงไป และให้เงินสนับสนุนการดำรงชีพ ในพื้นที่เพาะปลูกพืชแบบเดิม แต่เนื้อที่น้อยลง ควบคู่กับการประคับประคอง เสริมสร้างความเข้งแข็ง และการให้ความรู้เพิ่มทักษะอาชีพเพื่อเปลี่ยนระบบการผลิตด้วย
ครัวเรือน ที่จับจองป่าสงวนเป็นที่ทำกิน มาก่อนแล้ว 734 ไร่ สมัครใจคืนผืนดินที่เป็นป่าสงวนให้กับประเทศ 300 ไร่
เสี่ยปั้น บัณฑูร บรรยายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์รักษ์ป่าน่าน มีทั้งสถานการณ์ป่าไม้เมืองน่าน และลงลึกรายละเอียด แต่ละเรื่องที่ภาคเอกชนหนุน การคืนผืนป่าจะทำอย่างไร ทั้งยังชักชวนศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มาให้เห็นกรรมวิธี การคืนผืนป่า ในฐานะบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรรายใหญ่ ที่มีบทบาทสำคัญต่อ การเกษตรจังหวัดน่าน
ป่าต้นน้ำน่าน เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมา เป็นวาระระดับชาติ รัฐบาลลุงตู่ มีนโยบายและมาตรการแก้ปัญหา ที่ผ่านมา ไม่มีใครพูดถึง แม้แต่ในในกลุ่มนักอนุรักษ์ ทั้งที่เกิดภาวะวิกฤติน้ำ ในไทย 5 ปีที่ผ่านมา ความเสียหายของป่าต้นน้ำน่าน หนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญ ส่งมวลน้ำกว่าร้อยละ 40 ของแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกทำลาย 1-1.5 แสนไร่ต่อปี ผลสำรวจจากไทยโชต ไม่มีการระงับยับยั้งการสูญเสีย และปัจจัยการสูญเสียป่ายังอยู่ครบถ้วน พื้นที่ป่าสงวนน่าน ปี 2530 มีพื้นที่ 29,485 ไร่ ปี 2556 พื้นที่ป่าสงวนจริงเหลือ 17,975 ไร่ ใน 26 ปี ป่าสงวนถูกตัดไป 11,510 ไร่ หรือร้อยละ 39
ไม่ใช่แค่ป่าน่านเท่านั้น แต่พื้นที่ป่าภาคเหนือและป่าอื่นๆ ถูกทำลายต่อเนื่องเช่นกัน การตัดไม้ทำลายป่าขึ้นกับหลายปัจจัย กลุ่มนายทุนยึดป่ามาทำรีสอร์ต ทำสนามแข่งรถ
เจ้าสัวปั้น บัณฑูร เชิญชวนภาคเอกชน ช่วยเหลือด้านความรู้ เทคโนโลยี เงินทุน เชื้อเชิญเกษตรกรทดลองรูปแบบใหม่ ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวในวังวนแบบเดิม ปีที่ 1 คืนป่ามีการชดเชย ช่วงเวลาเปลี่ยนถ่าย ปีที่ 2-4 จัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืช/สัตว์สร้างผลผลิตมาตรฐานสูง ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตครบวงจร สนับสนุนเครื่องมือการเกษตร รวมถึงส่งเสริมการตลาด การออกแบบสินค้า หนุนเงินดำรงชีพเบื้องต้น รับซื้อผลผลิตและรับประกันรายได้ สานต่อความร่วมมือสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูป่าให้สมบูรณ์ดังเดิม ปีที่ 5 เป็นต้นไป มีการพัฒนาสินค้ามาตรฐานสูง การส่งเสริมอาชีพรอง พร้อมสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เกษตรกรยืนได้ด้วยตนเอง ภาคเอกชนจะสนับสนุนแนวคิดนี้ให้เป็นจริง
ล่าสุดกรมชลประทาน ตื่นตัวทบทวน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในน่าน 16 โครงการ แต่น้ำหยดแรก จะไหลลงอ่างเร็วสุดในอีก 2 ปีข้างหน้า เชื่อว่าจะช่วยระบบจัดการน้ำ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุดอยหัวโล้น เกิดจากบริษัทเอกชนเข้ามา ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวโพด และหนึ่งในบริษัท ที่มีบทบาทต่อการเกษตรจังหวัดน่าน คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์และรับซื้อขายพืชไร่
ศุภชัย ยืนยันว่า ต่อไปการจัดซื้อข้าวโพด จะต้องตรวจสอบได้ว่า ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และป่าต้นน้ำ มีส่วนแบ่งตลาดที่ 25% ทีเหลือเป็นธุรกิจอาหารสัตว์รายที่ใหญ่กว่า ราว 4-5 บริษัท
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น