จุดใต้ตำตอ..."การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" แท้จริงแล้ว ใช้วิธีเดียวกันกับการขยายเชื้อ แต่ไม่ต้องใส่หัวเชื้อ...แค่ใช้น้ำเปล่าตากแดด และใส่วัตถุดิบเหมือนกัน..เช่น
สูตร...ไข่ไก่สดหรือไข่ที่เสียแล้ว(ไข่เน่า)
ไข่ไก่+น้ำปลาไข่ไก่+ผงปรุงรส(รสดี)
ไข่ไก่+ผงชูรส
ซุปไก่+น้ำปลา
ซุปไก่+ผงปรุงรส
ซุปไก่+ผงชูรส
ประมาณ 2 อาทิตย์จะเริ่มแดง พอครบ 1 เดือน ก็จะแดงเกือบทุกขวด (สีอาจจะแดงเข้มหรืออ่อน)
.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PhotoSynthetic Bacteria ; PSB) พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด น้ำพุร้อน และน้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย และดิน
.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถใช้บำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน การเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมีและปิโตรเลียม เป็นต้น
จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
สวน 50 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดลงดินขณะเตรียมปลูก หรือฉีดทางลำต้นและรากทุกๆ 7-10 วัน
แปลงผักและดอกไม้ ใช้ 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลำต้นและรากทุกๆ 5-7 วัน
• ทำให้เนื้อปลามีคุณภาพดีขึ้น
• ทำให้ปลามีความแข็งแรงขึ้น
• ช่วยป้องกันโรคซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย เช่น Bacillus และ mildew
• ช่วยย่อยขี้ปลาได้ดี
• ทำให้น้ำมีความสะอาด
น้ำเสียในครัวเรือน ใช้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 1000 ลิตร
สูตร...ซุปไก่
"เหมือนเส้นผมบังภูเขา"
แต่ก็ไม่มีใครยอมบอกเรา ทำให้เกษตรกรทั้งหลายต้องไปหาซื้อ หัวเชื้อ เพื่อมาขยาย ซึ่งราคาก็แสนแพง บางที่ตกลิตรละ 100 ถึง 150 บาท
(ทั้งนี้เป็นเพราะคำว่า ผลประโยชน์ ของคนบางกลุ่มบางประเภทเท่านั้น)
*หรือเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ เพราะจุลินทรีย์จากเมืองนอกบางที่ ที่เขาได้นำเข้ามา ก็ไม่ได้บอกและ สอนวิธีเพาะเชื้อให้ เขาสอนแต่วิธีขยายมา*
#แต่ไม่เป็นไร# ในเมื่อเรารู้แล้ว ต่อไปเราก็ ไม่จำเป็น ต้องไปหาซื้อหัวเชื้อจากที่ไหนมาขยาย เพียงแค่เรามีไข่ กับน้ำเปล่า เราก็สามารถที่จะเพาะหัวเชื้อขึ้นมาได้เอง เพียงแค่ใช้เวลานานกว่าหน่อยเท่านั่น...
"ตามภาพครับ" ผมใช้ไข่ไก่ 6 ฟองกับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ ปั่นรวมกันทั้งเปลือก..(เวลาเทออกพยายามเทเปลือกไข่ออกมาให้หมด)...สัดส่วนเพิ่มลดได้ตามปริมาณที่เราอยากทำ...
เอาไปเทใส่ขวดน้ำที่ใส่ขวดตากแดดเตรียมไว้แล้ว...
วิธีผสม... ผมใช้ไข่ที่ปั่นแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ(พยายามตักให้ติดเปลือกไข่ทุกช้อน) ผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ 1.5 ถึง 2 ลิตร...(ง่ายๆ คือ ขวดน้ำ 6 ลิตร ผมใส่ไป 3 ช้อนโต๊ะ)...เขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท
ตั้งตากแดดไว้ที่เดิม เขย่าวันละ 1-2 ครั้ง
"ถ้าอยากให้สีสวยเสมอกัน ก็เอามาแลกน้ำกัน"(ดูวิธีที่โพสต์เก่า)
ส่วนประโยชน์นั้น ผมก็ค้นหาข้อมูลจากเน็ตมาให้..โดย
"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง " PSB
นอกจากนี้ ยังมีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดินในบริเวณรากข้าวในระยะข้าวตั้งท้องจะมีสภาวะแบบไม่มีออกซิเจนทำ ให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria) เจริญได้ดี สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) ซึ่งมีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าว
แต่เมื่อนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใส่ลงในดินในระยะเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเปลี่ยนไฮโดรเจนซัลไฟด์ให้อยู่ในรูปสารประกอบ ซัลเฟอร์ในรูปซัลเฟตที่ไม่เป็นพิษต่อราก จึงมีผลให้รากของต้นข้าวเจริญงอกงามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและลักษณะของต้น ข้าวก็มีความแข็งแรง
นอกจากนี้เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ยังสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์ได้เพราะเซลล์ของจุลินทรีย์ สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนสูงถึงร้อยละ 60-65 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 กรดฟอลิค วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงค์วัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) โคเอนไซม์คิว (Coenzyme-Q)
ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB
1.ช่วยย่อยสลายของ เสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า( ไฮโดรเย่นซัลไฟต์ ) โดยที่จุลินทรีย์จะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมี โดยการกำจัด ก๊าซไฮโดรเย่น ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีหลักของก๊าซไข่เน่า ( H2S ) โดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และระหว่างกระบวนการที่กล่าวมานั้นจุลินทรีย์ได้ ขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่ม โกสฮอร์โมน ที่มีรายละเอียดเบื้องต้น
2.ช่วย ลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยเข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเธน ( CH4 ) โดยการย่อยสลายก๊าซไฮโดรเย่น จึงทำให้โครงสร้างเสียไป เหลือแต่คาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ซึ่งแปลงนาโดยทั่วไปย่อมมีกลุ่มก๊าซของเสียอยู่แล้ว
3.ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
4.ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดีทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก
5.สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืชได้
6.เมื่อ ใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆลงได้ สูงสุด 50 % ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงกำไรเพิ่มมากขึ้น
7.หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย
8.ช่วย ในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับ น้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ รางน้ำ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือ กับน้ำเสียที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โรงงานฟอกย้อมผ้า โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เป็นต้น
การใช้งาน. ด้านเกษตร
นาข้าว ใช้ 1 ลิตร ต่อ ไร่ สาดให้ทั่วไร่
**ช่วยเร่งให้พืชออกดอก เช่น มะนาว มะเขือเทศ ส้ม มะม่วง มังคุด เป็นต้น
ด้านประมง
1. การเตรียมบ่อ ใช้จุลิทรีย์ 10 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ
2. ระหว่างการเลี้ยง ใช้จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ สัปดาห์ละครั้ง
เลี้ยงปลาสวยงาม
1.ตู้ปลาใหม่ 1 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน
2.ตู้ปลาเก่า 2 CC ต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 1 CC ทุกๆ 7 วัน
3.บ่อปลาขนาดใหญ่ ใช้ 100 CC ต่อน้ำ 1 ตัน ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไป ใส่ 100 CC ทุกๆ 7 วัน
การใช้กับฟาร์มปลา
•ช่วยเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวและอัตราการรอดตาย
#วิธีที่เพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนี้ค้นพบเองได้โดยบังเอิญ และเห็นว่า เป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำเกษตร ของพี่น้องเกษตรกรทุกๆคน จึงได้นำมาเผยแพร่...เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มากๆ#
Cr.#นาย ทวีศักดิ์ พันธุ์โภคา# เผยแพร่...(14/3/59)
ปล..อยากให้เผยแพร่เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร และบุคคลทั่วไป ได้นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มาบทความและรูปภาพ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1571504106500485&id=100009227321403
#มาแล้วครับวิธีเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง#จุดใต้ตำตอ..."การเพาะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง" แท้จริงแล้ว ใช้วิธีเดียวกันกั...
โพสต์โดย Taweesak Panpoca บน 13 มีนาคม 2016
อยากเห็นต้นไม้ที่ใช้จุรินทรี
ตอบลบครับว่างามขนาดไหน
ผมได้รับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาจากเพื่อนคนนึง แต่ก็ยังไม่เคยนำไปใช้อย่างจริงจังครับ ถ้ามีผลการใช้เมื่อไหร่ จะนำมาลงไว้เพื่อเป็นแนวทางศึกษาต่อไปครับ
ลบเคยทำแล้วก็งั้นๆพิสูตรไม่ได้หรอก สู้เศษอาหารในครัวเรือนหมักกับกากน้ำตาลไม่ได้
ลบจุรินทรีที่เราทำเองกับของที่เขานำเข้าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่าไรครับ
ตอบลบต้องชี้แจงก่อนนะครับ บทความที่นำมาลง ตัวบล็อกเกอร์ไม่ได้เป็นคนเขียนเอง เพียงแต่คัดลอกเอามาจาก facebook ที่ติดตาม เพราะเห็นว่าน่าศึกษา และเพื่อเป็นการบันทึกเอาไว้ทดลองตามบทความ ฉนั้นข้อมูลในเชิงลึกจึงไม่สามารถตอบได้ครับ แต่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาของบทความเอาไว้ข้างท้ายของบทความที่ลงในนี้ หากมีข้อสงสัย สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลต่อได้จากลิงค์ที่แนบเอาไว้ครับ ขอบคุณครับ
ลบสูตรจุลินทรีย์เห็นมีหลายสูตรเหลือเกินแต่ละคนบอกสูตรแทบไม่ซ้ำกัน
ตอบลบ